วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศ
...ขอต้อนรับเข้าสู่บล็อกของ Penpizzaa ด้วยความยินดีจ้า...

    เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ สรุปเทคโนโลยี คือ วิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์ สิ่งของที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่ได้รับการจัดเก็บรวบรวม ประมลผล เรียกค้น และสื่อสารระหว่างกันนำมาให้เกิดประโยชน์ได้
    
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) : IT) หมายถึง การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในการรวบรวม จัดเก็บใช้งานส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ ในการจัดการสารสนเทศได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างขั้นตอนวิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
    สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเทคโนโลยีที่ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล ซึ่งได้แก่การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์การติดต่อสื่อสารระหว่างกันด้วยความรวดเร็ว การจัดการข้อมูลรวมถึงวิธีการที่จะใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประวัติของเทคโนยีลีสารสนเทศ
จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีโทรคมนาคมคือการประดิษฐ์โทรเลขของแซมมวล  มอริส (Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตารมสายเป็นระยะทางไกล ๆ ได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษรเป็นรหัสที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น ….---…. การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387  และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2419 อเล็กซานเตอร์ แกรเฮม เบลล์ ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้น และได้ตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรกที่เมืองนิวเฮเวนรัฐคอนเนตทิคัตสหรัฐอเมริกา
    
ในเวลา 6 ปีต่อมานั้นเครือข่ายโทรศัพท์ได้ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็วจนในปัจจุบันทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ นับเป็นพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ด้านเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยา การคอมพิวเตอร์  ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์  เป้าหมายของปัญญา ประดิษฐ์คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ตั้งแต่เห็น ฟัง เดิน พูด และรู้สึก รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์                                                                                                                             ลักษณะของงานปัญญาประดิษฐ์
1.  Cognitive Science เป็นงานที่พัฒนาบนพื้นฐานของ ชีววิทยา จิตวิทยา และสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ประกอบด้วย ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบงานความรู้ ระบบเครือข่ายนิวรอน ฟัสชี่โลจิก เจนเนติกอัลกอริทึม เอเยนต์ชาญฉลาด และระบบการเรียนรู้
                2.  robotics เป็นงานซึ่งพัฒนาบนพื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ และเป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต์ให้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนกับมนุษย์ โดยพยายามทำให้หุ่นยนต์มีทักษะให้ด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ ทักษะในการมองเห็น  ทักษะในการสัมผัส ทักษะในการหยิบจับสิ่งของ ทักษะในการเคลื่อนไหว และทักษะในการนำทางเพื่อไปยังที่หมาย
                3.  natural interface เป็นงานซึ่งเน้นการพัฒนาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจในสิ่งที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรกลได้อย่างสะดวก  ประกอบด้วยงานด้านต่างๆ ดังนี้ ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ การพัฒนาระบบงานลักษณะนี้จะรวมเทคนิคของการจดจำคำพูดและเสียงของผู้ใช้งาน ได้ด้วย ซึ่งจะทำให้มนุษย์สามารถพูดหรือสั่งงานกับคอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ได้ด้วย ภาษามนุษย์ที่ไชใช้กันทั่วไป และระบบภาพเสมือนจริง เป็นการสร้างภาพเสมือนจริงหรือภาพจำลองของเหตุการณ์โดยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีการติดตั้งตัวเซ็นเซอร์ต่างๆ ไว้กับอุปกรณ์ที่ใช้เป็น Input / output ของระบบด้วย


ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังช่วง พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการสื่อสาร รวมถึงโทรศัพท์ไร้สายทำให้ชีวิตความเป็นอยู่และกิจวัตรประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ เช่น งานธุรกิจ เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีการผลิตสินค้าเทคโนโลยีด้านอวกาศ และพาณิชยกรรม เป็นต้น
    
โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ จึงเป็นที่มาของคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” (Information and Communication Technology) หรือเรียกย่อ ว่า ICT
    
เทคโนโยลีสารสนเทศและการสื่อสารคือเทคโนโลยีที่ใช้จัดการกับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นสามารถถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และสามารถส่งไปยังที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในที่นี้จึงหมายถึงความรู้และวิธีการนำความรู้ไปใช้ ส่วนผลิตของเทคโนโลยีซึ่งทำให้เกิดการทำงานที่เราต้องการนั้น เราเรยกว่า ระบบ (system)

เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
    
คนเราทุกวันนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอก การรับรู้ข่าวสาร เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์การรับฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์ โทรสาร ก็เป็นการใช้เทคโลยีสารสนเทศ จากจากนั้น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัต (ตู้เอทีเอ็ม) ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน ไม่เฉพาะคนในเมืองเท่านั้น แม้แต่คนในชนบทก็ยังมีส่วนต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันด้วย เช่น เมื่อไปทำบัตรประจำตัวประชาชนที่อำเภอ ทางอำเภอจะเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลกลาง ของสำนักทะเบียน กระทรวงมหาดไทยซึ่งเชื่อมเป็นเครือข่ายไปทั่วไปประเทศ สามารถเรียกดูได้ทันที เราเรียกระบบที่ต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายที่สามารถเยกใช้ทันที เช่นนนี้ว่า ระบบออนไลน์ ซึ่งมีประโยชน์มากและเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นและได้ผลดีมาก เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกันทั่วประเทศ และสามารถเห็นได้พร้อมกันทั่วประเทศ อีกกรณีหนึ่งคือ การไปรับบริการรักษาตามโรงพยาบาล เมื่อก่อนนี้โรงพยาบาลต่าง ๆ มีระบบเวชระเบียน และผู้ป่วยแต่ละคนจะมีบัตรประจำตัวซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี เพราะเมื่อไปติดต่อครั้งต่อไปเจ้าหน้าที่จะขอดูบัตรหากไม่มีบัตรและเลขที่ประจำตัวไม่มีก็ค้นหาได้ยากมาก แต่ในปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการกับปัญหาดังกล่าว เพียงแต่ผู้ป่วยสามารถบอกชื่อนามสกุลได้
    
เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเวชระเบียนออกมาได้ภายในเวลาชั่วพริบตาและในหลาย ๆ โรงพยาบาลนี้ที่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง ก็อาจไม่จำเป็นต้องมีเวชระเบียนที่เป็นเอกสารก็ได้ เพราะเวชระเบียนในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายไปปรากฎบนจอคอมพิวเตอร์ในห้องตรวจทันทีเมื่อแพทย์ทำการตรวจโรคและสั่งยา แพทย์ก็จะพิมพ์คำสั่งลงในเครื่องขณะเดียวกันคำสั่งก็จะถูกส่งไปแผนกที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนกเอกซเรย์ แผนกจ่ายยาเป็นต้น
    
จากตัวอย่างนักเรียนคงพอสรุปได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไรมีประโยชน์อะไรอย่างไร และนำมาใช้ได้อย่างไรบ้างในชีวิตประจำวัน
    
เทคโนโลยีและสารสนเทศเกิดจากการรวมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีโทรคมนาคมเข้าด้วยกัน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการกับสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำ ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานดียิ่งขึ้น เป็นผลให้ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์แทบทุกเรื่อง และนับวันจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ

ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตาม
ความต้องการของผู้ใช้
3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ
ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
7. ต้องมีความยึดหยุ่น (Flexible) สามารถในไปใช้ในหลาย ๆ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
8. สารสนเทศที่ดีต้องมีรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
9. สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับความต้องการ (Relevant/Precision) ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
10. สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น เป็นสารสนเทศที่ได้มาจากกรรมวิธีรวบรวมที่น่าเชื่อ ถือ หรือแหล่ง (Source) ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
11. สารสนเทศที่ดีควรมีความปลอดภัย (Secure) ในการเข้าถึงของผู้ไม่มีสิทธิใช้สารสนเทศ
12. สารสนเทศที่ดีควรง่าย (Simple) ไม่สลับซับซ้อน มีรายละเอียดที่เหมาะสม (ไม่มากเกินความจำเป็น)
13. สารสนเทศที่ดีต้องมีความแตกต่าง หรือประหลาด (Surprise) จากข้อมูลชนิดอื่น ๆ
14. สารสนเทศที่ดีต้องทันเวลา (Just in Time : JIT) หรือทันต่อความต้องการ (Timely) ของผู้ใช้ หรือสามารถส่ง
ถึงผู้รับได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
15. สารสนเทศที่ดีต้องเป็นปัจจุบัน (Up to Date) หรือมีความทันสมัย ใหม่อยู่เสมอ มิเช่นนั้นจะไม่ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
16. สารสนเทศที่ดีต้องสามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable) หรือตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่ง ได้ว่ามีความถูกต้อง